Living With Yourself

 

รีวิว Living With Yourself - ชีวิตติดเซลฟ์

ซีรีส์คอมเมดี้พลอตเพี้ยน ๆ จากมันสมองของ ธีโมที กรีนเบิร์ก ที่แม้มีเพียงเครดิตเขียนบทซีรีส์ The Detour เท่านั้น ที่เหมือนเอาพลอตของ Adaptation (2002) หนังออสการ์สาขาบทยอดเยี่ยมโดย ชาร์ลี คอฟแมน มายำรวมกับพลอตคอมเมดี้ดรามาว่า รีวิว Living With Yourself

เรื่องย่อ

หลังใช้บริการสปาพัฒนาชีวิตตามคำแนะนำของเพื่อนร่วมงาน ไมลส์ เอลเลียต (พอล รัดด์) ก็ต้องเผชิญหน้ากับร่างโคลนนิ่งของเขาที่เป็นเวอร์ชันที่ดีกว่า นั่นนำมาซึ่งความยุ่งเหยิงต่าง ๆ นานา ทั้งความสัมพันธ์กับ เคต (ไอส์ลิง บี) ภรรยาที่ต้องการตั้งครรภ์และคะยั้นคะยอให้เขาไปฝากสเปิร์ม ไปจนถึงการต้องแข่งกับร่างโคลนนิ่งของตัวเองในเรื่องงานที่ดูจะรุ่งกว่าไอเดียของเขาเองเสียอีก สุดท้าย ไมลส์ จะจัดการอย่างไรกับชีวิต 1 ชีวิตทว่ามีตัวเขาเองถึง 2 ร่างแบบนี้


ซีรีส์คอมเมดี้พลอตเพี้ยน ๆ จากมันสมองของ ธีโมที กรีนเบิร์ก ที่แม้มีเพียงเครดิตเขียนบทซีรีส์ The Detour เท่านั้น ที่เหมือนเอาพลอตของ Adaptation (2002) หนังออสการ์สาขาบทยอดเยี่ยมโดย ชาร์ลี คอฟแมน มายำรวมกับพลอตคอมเมดี้ดรามาว่าด้วยคนขี้แพ้ที่อยากพัฒนาตัวเอง

ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า อิทธิพลของ คอฟแมน ชัดมากทีเดียวในงานบทของซีรีส์เรื่องนี้ทั้งความสัมพันธ์อันยุ่งเหยิงตัวเองที่กำลังตีบตันทั้งไอเดียและการใช้ชีวิตคล้าย ๆ กัน สำหรับ Living With Yourself การให้ตัวเอกอย่าง ไมลส์ มีอาชีพ ครีเอทีฟ ก็ดูจะเย้ยหยันกับปัญหาทางตันในชีวิตได้อย่างเจ็บแสบไม่น้อย

เพราะการให้คนที่เอาความคิดใช้หากินมาเผขิญกับปัญหามืดแปดด้านจนต้องพึ่งสปาลึกลับก็ดูเมกเซนส์ไม่น้อยเลยทีเดียวและสิ่งที่ดึงคนดูได้อยู่หมัดก็คงหนีไม่พ้นสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะมาพิสูจน์และให้ข้อคิดกับตัวละครที่ต้องบอกว่าบทซีรีส์ทำได้ไม่เลวเลย

เนื้อเรื่อง

Living with Yourself เป็นซีรีส์ดูหนังฟรีแนวดราม่าผสมคอมเมดี้ตลกเสียดสีสังคม ว่าด้วยการพยายามเปลี่ยนตัวตนไปเป็นคนที่ดีกว่าเดิม โดยเป็นผลจากสังคมชีวิตรอบตัวโน้มน้าวให้ต้องหาทางทำอะไรใหม่ๆ แต่นั่นเป็นสิ่งที่ดีกับชีวิตจริงหรือไม่ หนังตั้งคำถามบอกเล่าเรื่องราวหลายแง่มุมผ่านเรื่องราวของพระเอก ไมลส์ อิลเลียตต์

ที่เรียกว่าชีวิตดูตกต่ำถึงขีดสุด จนทำให้เขาต้องยอมพลิกชีวิตเข้ารับบริการสปามหัศจรรย์ “Top Happy Spa” ซึ่งช่วยพลิกชีวิตเขาจากหน้ามือเป็นหลังมือภายในคืนเดียว แต่เรื่องราวไม่ได้ง่ายแบบนั้น เพราะเขากลับพบว่าตัวเองในแบบที่ดีกว่า เป็นเหมือน “ดอปเปลแกงเกอร์ (Doppelgänger)”

ที่แทรกเข้ามาแทนที่ชีวิตของเขา ในแบบที่เขาก็ต้องจำใจยอมรับว่าตัวตนใหม่ของเขานั้นพิเศษเด็ดดวงกว่าเขาในทุกด้านจริงๆ ซึ่งถ้าเป็นคุณจะทำยังไงในเมื่อตัวคุณเองสู้ตัวตนใหม่ไม่ได้เลยในทุกทาง

การดำเนินเรื่อง

แม้ซีรีส์จะเริ่มมาด้วยพลอตไซไฟโรแมนติกที่ดูจะไม่พ้นหนังที่สร้างจากบทของ ชาร์ลี คอฟแมนทั้ง Being John Malkovich (1999) Adaptation (2002) หรือแม้กระทั่งเรื่องที่พระเอกไปเข้าสปาก็พาลนึกถึง Eternal Sunshine of the Spotless Mind (2004) ไม่น้อยเลยทีเดียว แต่หมัดเด็ดของมันคงหนีไม่พ้นสององค์ประกอบสำคัญนั่นคือ การพูดถึงความภาคภูมิใจในตนเอง (Self Esteem) และ การแสดงของ พอล รัดด์ นั่นเอง

หนังใช้เรื่องราวหนังใหม่ชนโรง ไซไฟนิดๆ มาผสมให้เกิดเป็นเรื่องมหัศจรรย์ล้ำยุคเล็กๆ ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ตรงนี้ขอไม่สปอยล์ อยากให้ผู้อ่านได้ลองดูกันเอาเองว่าหนังทำให้เกิดพระเอกที่มี 2 ตัวตนได้อย่างไร (ถ้าอยากอ่านก่อนกดที่นี่ครับ) ซึ่งเป็นพล็อตที่ง่ายๆ แต่ทำให้เรื่องราวมีมิติหลายแง่มุมกลับมาคิด

แม้หนังจะละทิ้งความสมจริงตรงนี้ด้วยการให้เป็นเรื่องตลกเสียดสีเชิงธุรกิจ แต่ก็ไม่ได้จินตนาการพาเรื่องราวไปไกลจนเกินกว่าสังคมปัจจุบัน แถมยังลงลึกสำรวจถึงความเป็นไปได้ถ้าเกิดมีเรื่องราวแบบนี้ขึ้นจริงในอนาคต จะมีผลกระทบกลับมายังไงในหลายแง่มุม?

แม้ซีรีส์เปิดเรื่องมาเป็นแนวลึกลับ แต่ก็ไม่ได้เน้นหนักไปที่การหักมุมให้อึ้งตามสูตรหนังซีรีส์ทั่วไปแต่อย่างใด หนังเลือกใช้แนวทางการเล่าเรื่องดราม่าสำรวจชีวิตตัวละครหลัก 3 ตัวคือ ไมลส์เก่า ไมลส์ใหม่ และเคต ภรรยาของเขา ซึ่งเรื่องราวจะเป็นการตัดสลับมุมมองความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ตัวละครที่เวลาทับซ้อนกันตลอดทุกเหตุการณ์

ซึ่งเป็นเรื่องราวทั้งด้านบวกและลบจากการที่คนๆ หนึ่งได้พลิกชีวิตเปลี่ยนเป็นคนใหม่ แต่นั่นใช่สิ่งที่ควรจะเป็นหรือเปล่า ยิ่งถ้าตัวตนจริงเขาไม่ได้เป็นแบบนั้น บางทีความสมบูรณ์แบบก็ไม่ใช่คำตอบของชีวิตเสมอไป

หนังเล่นเรื่องราวได้อย่างฉลาดกับความเป็นไปได้จริงของการใช้ชีวิตเดียวแต่มี 2 ตัวตนว่าจะเป็นยังไง รวมถึงใส่มุมมองที่ละเอียดถี่ถ้วนหลายๆ อย่างทั้งกับการงาน ชีวิตคู่ ตัวตนของเรา ไม่เว้นแม้แต่มุมมองของไมล์คนใหม่ ที่เป็นเหมือน “ดอปเปลแกงเกอร์” ว่าเขาจะรู้สึกอย่างไรกับชีวิตที่มีประสบการณ์ความจำเหมือนจริง

แต่กลับไม่ใช่ของจริง ซึ่งหนังสำรวจล้วงลึกไปถึงอารมณ์ความนึกคิดของเขาอย่างละเอียด แม้ว่าเขาจะเป็นคนที่ถูกออกแบบมาใหม่ให้สมบูรณ์แบบไร้ที่ติ แต่พื้นฐานของมนุษย์คือสิ่งมีชีวิตปกติที่มีข้อบกพร่องอยู่ในตัวทุกๆ คน ไม่ได้จำเป็นต้องไร้ที่ติจนกลายเป็นดีเกินกว่ามนุษย์ไป ซึ่งหนังทำออกมาเป็นแนวดราม่าไซไฟนิดๆ ไม่เหนือจริงจนเกินไป ทำให้คนดูรู้สึกสงสารเห็นอกเห็นใจเขาได้ไม่ยากเลย

รีวิว Living With Yourself

ประเด็นความภาคภูมิใจในตนเอง

โดยประเด็นความภาคภูมิใจในตนเองอาจฟังดูไกลตัว ทว่าเอาเข้าจริงนี่คือปัญหาร่วมของมนุษยชาติในปัจจุบันเลยทีเดียว คงปฏิเสธไม่ได้นะว่าเทคโนโลยีที่ทำอะไรแทนมนุษย์ได้แทบทุกอย่าง กำลังทำให้ความภูมิใจในการเป็นมนุษย์ของเราถดถอยลง อย่างในซีรีส์ก็ใช้วิทยาการโคลนนิ่งมาเป็นตัวกลาง

และกลไกในการจำลองความคิดของเราว่า หากวันนึงเราสามารถสร้างตัวเราในเวอร์ชันที่ดีกว่าแบบไม่ต้องเหนื่อยไปอบรมกับไลฟ์โค้ช หรือ มีวินัยในตัวเองมากขึ้น ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร ซึ่งแต่ละตอนของ Living With Yourself ก็ค่อย ๆ ทำให้เราได้ตระหนักเรื่องของความสำคัญในการใช้ชีวิตคนเราได้อย่างคมคาย

ทั้งคุณค่าของคนต่อครอบครัวที่ซีรีส์ก็ทำให้เราลุ้นว่า ท้ายสุดหากเคตได้เจอ ไมลส์ ในเวอร์ชันที่ดีกว่า เธอจะรักเขามากกกว่าตัวจริงไหม หรือกระทั่งการที่ร่างโคลนนิงสามารถคิดงานที่ดูเห่ยแต่ลูกค้าชอบ จะทำให้ตัวจริงที่เต็มไปด้วย อัตตา โต้กลับหรือรู้สึกอย่างไร

ซึ่งเอาเข้าจริงมันก็แทบจะแทนเรื่องเส็งเคร็งที่เราเจอในชีวิตประจำวันได้อย่างเห็นภาพ เพียงแต่ซีรีส์เองก็นำเสนอได้อย่างมีอารมณ์ขัน ทว่าแฝงความคมคายชวนคิดมากพอให้เราหันกลับมามองชีวิตเราได้ดีทีเดียวเชียวแหละ

ด้านนักแสดง

นอกจากบทหนังที่เล่นเรื่องราวได้อย่างฉลาดเฉียบคมแล้ว (เขียนบทและสร้างโดยทิโมธี กรีนเบิร์ก เจ้าของรางวัลเอมมี่) ก็ต้องยกให้การแสดงไร้ที่ติของ “พอล รัดด์” ในบทเล่นเป็นตัวเอง 2 คนที่แตกต่างกันสุดขั้ว แบบดูปุ๊บก็แยกออกได้เลยว่าใครเป็นไมลส์คนเก่ากับคนใหม่ ซึ่งเป็นบทที่หนักเอาการเพราะต้องถ่ายทำสองรอบในฉากเดียวกัน แถมตัวละครทั้งคู่ก็ยังมีบทดราม่าหนักๆ ส่งอารมณ์ไม่แพ้กันอีกด้วย

โดยรวม

หนังใช้บทพิสูจน์จากอุปสรรคความรักหลายรูปแบบ ทั้งจากความจำเจในการใช้ชีวิตคู่ ฐานะความมั่นคงในอนาคต การหึงหวง นอกใจ รวมถึงความบกพร่องเรื่อง Sex มาใช้เป็นเรื่องราวผลักดันความสัมพันธ์ของทั้ง 3 คน ไปสู่ช่วงสุดท้ายของซีรีส์ ที่ทำออกมาปลายเปิดให้จินตนาการต่อไปเอง โดยไม่ได้ทิ้งท้ายไว้ว่าจะมีซีซั่น 2 หรือไม่

สรุป

ซีรีส์นี้ความยาว 8 ตอน ตอนละแค่ 25 นาทีจบ สนุกลื่นไหล ย่อยง่าย แค่ดูการแสดง 2 ตัวตนของพอล รัดด์ก็สนุกมากๆ แล้ว เป็นซีรีส์ Netflix ที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

ความคิดเห็น